ประวัติความเป็นมา

 

   คำขวัญตำบลบ้านกลาง
ถิ่นภูไทรวมเผ่า วัดเก่าแก่งเมือง ลือเลืองไข่ไก่ ชื่นใจละมุดหวาน ทุกฤดูกาลมีหอมแบ่ง
วิสัยทัศน์การพัฒนา
ตำบลน่าอยู่ การเกษตรก้าวหน้า ประชาชนสุขภาพดี
สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
ไข่ไก่สด, ละมุดหวาน
ข้อมูลตำบลบ้านกลาง

 

นับแต่ได้มีการประกาศใช้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เป็นต้นมา บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างมาก รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันให้ความสำคัญ กับการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยกำหนดกรอบความเป็นอิสระในการปกครองตนเอง ตามเจตนารมย์ของประชาชน และความเป็นอิสระในการกำหนดนโยบายปกครอง การบริหาร การบริหารงานบุคคล การเงินและการคลัง

 


นอกจากนี้พระราชบัญญัติกำหนดแผน และขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ . ศ. 2542 ได้บัญญัติให้มีองค์กร รับผิดชอบในการจัดทำแผนการกระจายอำนาจ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นคือ คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และกำหนดหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการให้การบริการสาธารณะที่จำเป็นแก่ท้องถิ่น ตลอดจนรายได้ของท้องถิ่นที่เพิ่มขึ้น และ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ. ศ. 2542 ได้กำหนดรูปแบบการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นที่มีความเป็นอิสระมากขึ้น

            ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจัดทำและประสานแผนการพัฒนาขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น พ. ศ. 2546
ได้กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาอำเภอ
และนโยบายในการพัฒนาท้องถิ่น
ดังนั้น เพื่อวางยุทธศาสตร์แนวทางการพัฒนาให้มีเป้าหมายที่ชัดเจนในการพัฒนา สนองความต้องการและแก้ไขปัญหา

ให้กับประชาชน องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกลาง จึงได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนานี้ขึ้น

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานของตำบลบ้านกลาง

1. ด้านกายภาพ
          1.1 ที่ตั้ง อาณาเขต  เนื้อที่
                     ตำบลบ้านกลาง  ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม ได้รับการประกาศจัดตั้งเป็น
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกลาง เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2540 ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของอำเภอเมืองนครพนม
อยู่ห่างจากอำเภอเมืองนครพนม ระยะทาง 28 กิโลเมตร มีอาณาเขต ดังนี้
ทิศเหนือ           จดตำบลดงขวาง  อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม
ทิศใต้               จดตำบลนาถ่อน  อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม
ทิศตะวันออก     จดฝั่งลำน้ำโขง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ทิศตะวันตก       จดตำบลคำเตย  อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม
         เนื้อที่ ตำบลบ้านกลาง มีเนื้อที่  23.69 ตารางกิโลเมตร (14,806ไร่) แบ่งเป็น
- ป่าสาธารณะ 244 ไร่
- แหล่งน้ำสาธารณะ 794 ไร่
- ที่อยู่อาศัย 2,998 ไร่
- พื้นที่ทำการเกษตร 10,665 ไร่
- ที่ดินส่วนราชการ 10 ไร่
1.2 ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศของตำบลบ้านกลางเป็นที่ดอนและมีที่ราบลุ่มเป็นบางส่วน
1.3 ลักษณะภูมิอากาศ    ลักษณะภูมิอากาศ แบ่งได้ 3 ฤดู คือ
        ฤดูร้อน  เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ -ปลายเดือนเมษายน ของทุกปี จะมีอากาศ
ร้อนอบอ้าว โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ย 25 -35 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด
เฉลี่ย 37 -40 องศาเซลเซียส
        ฤดูฝน   เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม–กลางเดือนกันยายน ของทุกปี ฝนจะตกชุกมาก
ในบางปีเกิดอุทกภัยและวาตภัย ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ย 2,279.7 มิลลิเมตร/ปี
        ฤดูหนาว         เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคม -มกราคม ของทุกปี อากาศทั่วไปจะหนาวเย็น
อุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 10 -14 องศาเซลเซียส
1.4 ลักษณะของดิน
                   ด้านทิศตะวันตกติดริมแม่น้ำโขงมีลักษณะพื้นที่ราบเรียบ เนื้อดินบนเป็นดินร่วนเหนียวหรือดินร่วนเหนียวปนทราย
ส่วนใหญ่ใช้ปลูกพืชผักต่างๆ ด้านทิศตะวันตก ลักษณะดินบนเป็นดินร่วนปนทราย ดินชั้นล่างเป็นดินเหนียว พื้นที่ราบลุ่มใช้ทำนา
ที่ดอนใช้ปลูกยางพารา
1.5 ลักษณะของแหล่งน้ำ
             แหล่งน้ำธรรมชาติ
- ลำห้วย
จำนวน  2
แห่ง
- หนอง/บึง
จำนวน  18
แห่ง
แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
- อ่างเก็บน้ำ จำนวน  1 แห่ง
- ฝาย จำนวน  1 แห่ง

     สถานีสูบน้ำทางการเกษตร 4 สถานี

- สถานีที่ 1 ตั้งอยู่ที่บ้านกลาง หมู่ที่ 4 ให้บริการหมู่ที่ 3,4,13
- สถานีที่ 2 ตั้งอยู่ที่บ้านดงติ้ว หมู่ที่ 6 ให้บริการหมู่ที่ 5,6,9,12
- สถานีที่ 3 ตั้งอยู่ที่บ้านดงติ้ว หมู่ที่ 5 ให้บริการหมู่ที่ 5,6,8
- สถานีที่ 4 ตั้งอยู่ที่บ้านหนาด หมู่ที่ 1 ให้บริการหมู่ที่ 1,2,11

          1.6 ลักษณะของไม้และป่าไม้

  • เป็นป่าไม้เบญจพรรณ ไม้ส่วนใหญ่จะเป็นพวกไม้ผลัดใบ ทำให้ฤดูแล้งสามารถสังเกตเห็นป่าไม้ชนิดนี้ได้ง่าย พันธุ์ไม้ที่พบ
  • ได้แก่ ไม้แดง ไม้ประดู่ ไม้พยุง ไม้สัก ฯลฯ
2. ด้านการเมือง/การปกครอง
2.1 เขตการปกครอง
ตำบลบ้านกลาง มีจำนวนหมู่บ้านทั้งหมด 13 หมู่ ประกอบด้วย
หมู่ที่ 1 บ้านหนาด  หมู่ที่ 2 บ้านหนาด หมู่ที่ 3  บ้านกลาง
หมู่ที่ 4 บ้านกลาง  หมู่ที่ 5 บ้านดงติ้ว หมู่ที่ 6  บ้านดงติ้ว
หมู่ที่ 7 บ้านกลางน้อย  หมู่ที่ 8 บ้านดงยอ หมู่ที่ 9  บ้านดงติ้ว
หมู่ที่ 10 บ้านกลาง  หมู่ที่ 11 บ้านหนาด หมู่ที่ 12  บ้านดงติ้ว
หมู่ที่ 13 บ้านกลาง

 

2.2        การเลือกตั้ง
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกลาง เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดกลาง แบ่งเขตการเลือกตั้งออกเป็น 13 เขต
ตามจำนวนของหมู่บ้าน  มีจำนวนสมาชิกสภาหมู่ละ 1 คน รวมทั้ง 13 คน
3. ประชากร
3.1 จำนวนประชากร / ครัวเรือน
ตำบลบ้านกลางมีประชากรทั้งสิ้น  8,484 คน แยกเป็นชาย 4,229 คน   หญิง 4,256 คน
มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด  2,371 ครัวเรือน
       ตารางแสดงจำนวนครัวเรือน  / ประชากร
หมู่ที่
จำนวนครัวเรือน (หลัง)
จำนวนประชากร (คน)
หมายเหตุ
ชาย
หญิง
รวม
1.
182
268
295
563
2.
273
374
406
780
3.
160
203
224
427
4.
170
233
250
483
5.
218
290
275
565
6.
167
256
270
526
7.
209
283
279
562
8.
114
127
138
265
9.
160
267
266
533
10.
270
340
341
681
11.
129
222
212
434
12.
165
307
278
585
13.
154
213
234
447
รวม
2,371
4,228
4,256
8,484
ที่มา : สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง (ข้อมูล ณ เดือน ตุลาคม 2564)
4. สภาพทางสังคม
4.1 การศึกษา
- ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ จำนวน   4 แห่ง
- โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน   4 แห่ง
- โรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน  1 แห่ง
- โรงเรียนเอกชน ระดับอนุบาล-ประถมศึกษา จำนวน  1 แห่ง
- ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน จำนวน  13 แห่ง
4.2 บริการสาธารณสุข        
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน  2 แห่ง
- ร้านขายยาแผนปัจจุบัน จำนวน  2 แห่ง
- อัตราการมีและการใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ  100
4.3 สถาบันและองค์กรทางศาสนา
- วัด จำนวน  6 แห่ง
- ที่พักสงฆ์ จำนวน  6 แห่ง
- โบราณสถาน(วัดแก่งเมือง) จำนวน  1 แห่ง
4.4 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- สถานีตำรวจภูธรบ้านกลาง จำนวน  1 แห่ง
- ศูนย์ อปพร./กู้ชีพ-กู้ภัย อบต.บ้านกลาง จำนวน  1 แห่ง

 

5. ระบบบริการพื้นฐาน

5.1 การคมนาคม
  • ถนนสายหลัก  ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 212
  • ถนนภายในหมู่บ้านส่วนใหญ่เป็นถนนคอนกรีต
  • ถนนที่ใช้สัญจรไปไร่นา หรือแหล่งทำการเกษตรอื่น ๆ ส่วนใหญ่เป็นถนนลูกรัง
5.2 การไฟฟ้า
·มีไฟฟ้าบริการใช้ครบทุกครัวเรือน รวมถึงไฟฟ้าส่องสว่างภายในหมู่บ้านทุกหมู่บ้าน
·มีการขยายไฟฟ้าเพื่อการเกษตรครอบคลุมทุกพื้นที่
          5.3 การประปา
  • มีระบบประปาหมู่บ้าน จำนวน 8 แห่ง (ตั้งอยู่หมู่ที่ 2,4,5,6,7,8,10,11
5.4 โทรศัพท์เคลื่อนที่
  • เสาส่งสัญญาณโทรศัพท์        AIS,DTAC, TRUE                   รวม 3 แห่ง
5.5 ทำการไปรษณีย์
- ที่ทำการไปรษณีย์ของรัฐ จำนวน  1 แห่ง
- บริการรับส่งพัสดุเอกชน จำนวน  3 แห่ง

 

6. ระบบเศรษฐกิจ
6.1 การเกษตร
ราษฎรส่วนใหญ่มีอาชีพทางเกษตรกรรม เช่น ทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์ และมีอาชีพอื่นเล็กน้อย
เช่น ค้าขาย รับจ้าง และอุตสาหกรรมในครัวเรือน
6.2 การประมง
  • มีการเลี้ยงปลาในกระชัง ในแหล่งน้ำธรรมชาติ (แม่น้ำโขง หนอง บึง)
6.3 การปศุสัตว์
  • มีการเลี้ยงไก่ไข่ ของกลุ่มอาชีพผู้เลี้ยงไก่ไข่ และกลุ่มอาชีพผู้เลี้ยงโค กระบือ
6.4 การบริการ
- รีสอร์ท จำนวน   1 แห่ง
- อู่ซ่อมรถยนต์/จักรยานยนต์ จำนวน   5 แห่ง
6.5 การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ
- โรงงานผลิตน้ำดื่ม จำนวน  1 แห่ง
- ร้านค้าอุปกรณ์ทางการเกษตร จำนวน  2 แห่ง
- ร้านซื้อขายของเก่า จำนวน  1 แห่ง
- ร้านค้าวัสดุก่อสร้าง จำนวน  2 แห่ง
- ร้านค้าอุปกรณ์การกีฬา จำนวน  1 แห่ง
- ร้านค้าเฟอร์นิเจอร์ จำนวน  5 แห่ง
- ร้านขายของชำ จำนวน  5 แห่ง
- ร้านขายอาหาร จำนวน  10 แห่ง
- ร้านค้าอุปกรณ์อิเล็คทรอนิค จำนวน  2 แห่ง
- ปั๊มน้ำมัน จำนวน  1 แห่ง
- ปั๊มน้ำมันแบบหลอด จำนวน  1 แห่ง
- ปั๊มน้ำมันแบบหยอดเหรียญอัตโนมัติ จำนวน  3 แห่ง
- โรงสีข้าวขนาดเล็ก จำนวน  5 แห่ง
7. เศรษฐกิจพอเพียงท้องถิ่น (ด้านการเกษตรและแหล่งน้ำ)
          7.1 ข้อมูลพื้นฐานของหมู่บ้านหรือชุมชน
             ตำบลบ้านกลาง แบ่งออกเป็น 13 หมู่บ้าน ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตรเป็นหลัก
เช่น ทำนา ทำไร่ ทำสวน
          7.2 ข้อมูลด้านการเกษตร
- ทำนา จำนวน 1,138  ครัวเรือน พื้นที่  8,518  ไร่
- ทำสวน (ยางพารา,ละมุดพริก,หอมแบ่ง) จำนวน 300  ครัวเรือน พื้นที่ 1,597 ไร่
- ทำไร่ (ข้าวโพด,ถั่วเขียว,กะหล่ำปี) จำนวน 43  ครัวเรือน พื้นที่  35  ไร่

 

8. ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม
      8.1 การนับถือศาสนา
  • ประชาชนในพื้นที่ตำบลบ้านกลาง นับถือศาสนาพุทธ 100 %
      8.2 งานประเพณีและงานประจำปี
  • ประชาชนนิยมจัดงานตามประเพณีในวันสำคัญต่างๆ ทางพระพุทธศาสนา และประเพณีไทย
      8.3 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น
  • การฟ้อนรำประจำถิ่น ภาษาถิ่น(ภาษาพูด) ประกอบด้วย ภาษาภูไท และภาษาญ้อ
      8.4 สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก
  • ได้แก่ ไข่ไก่ และละมุด
9. ทรัพยากรธรรมชาติ
      9.1 น้ำ แม่น้ำโขง ลำน้ำสาขา  และแหล่งน้ำธรรมชาติ (ห้วย หนอง บึง)
      9.2 ป่าไม้         พื้นป่าสาธารณะบ้านดงยอ  ป่าสาธารณะบ้านหนาด(ดอนปู่ตา) ป่าสาธารณะบ้านกลาง(ดอนปู่ตา)
      9.3 คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ
  • พื้นที่ของป่าไม้ธรรมชาติเหลือน้อยลง เนื่องจากถูกบุกรุกใช้เป็นที่อยู่อาศัยและพื้นที่ทำการการเกษตร
  • ส่วนแหล่งน้ำธรรมชาติเช่น แม่น้ำโขง ถือเป็นแม่น้ำสายหลักในการใช้เพื่ออุปโภค บริโภค และการประมง
10.   ข้อมูลอื่น ๆ
10.1   มวลชนจัดตั้ง
- ลูกเสือชาวบ้าน  4  รุ่น จำนวน  600 คน
- กลุ่มแม่บ้าน จำนวน  120 คน
- อสม. จำนวน  60 คน
- อปพร.  3  รุ่น จำนวน  205 คน
               10.2   ศักยภาพขององค์การบริหารส่วนตำบล
  • จำนวนผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกลาง  จำนวน  4        คน
1. นายก จำนวน  1 คน
2. รองนายก จำนวน  2 คน
3. เลขานุการนายก จำนวน  1 คน
  • จำนวนบุคลากร (พนักงานส่วนตำบล/ลูกจ้าง)                   จำนวน  52      คน
1.ตำแหน่งปลัด อบต. จำนวน  1 คน
2.ตำแหน่งรองปลัด อบต. จำนวน  1 คน
3.ตำแหน่งในสำนักงานปลัด จำนวน  6 คน
4.ตำแหน่งในกองคลัง จำนวน  4 คน
5.ตำแหน่งในกองช่าง จำนวน  2 คน
6.ตำแหน่งในกองการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม จำนวน  7 คน
7.ตำแหน่งในกองสวัสดิการสังคม จำนวน  1 คน
8.ตำแหน่งลูกจ้างประจำ จำนวน  1 คน
9.ตำแหน่งพนักงานจ้าง จำนวน  29 คน

 

  • จำนวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกลาง         จำนวน  13     คน   ประกอบด้วย
- ประธานสภา จำนวน  1 คน
- รองประธานสภา จำนวน  1 คน
- สมาชิกสภา จำนวน  11 คน

 

รายชื่อ กำนัน / ผู้ใหญ่บ้าน ตำบลบ้านกลาง
ลำดับ
ชื่อ - สกุล
ตำแหน่ง
ชื่อหมู่บ้าน
หมู่ที่
โทรศัพท์
หมายเหตุ
1
นายพินิตย์  หมื่นลูกท้าว
กำนัน ต.บ้านกลาง
บ้านหนาด
1
087-2233317
2
นายเอกชัย ลิตะ
ผู้ใหญ่บ้าน
บ้านหนาด
2
062-1834857
3
นายไวยวุฒิ คำเหลา
ผู้ใหญ่บ้าน
บ้านกลาง
3
085-7566400
4
นางประภัสสร  ขันตะ
ผู้ใหญ่บ้าน
บ้านกลาง
4
086-2338399
5
นายสนอง   ลาภะ
ผู้ใหญ่บ้าน
บ้านดงติ้ว
5
084-7138245
6
นายชายวาฬ  ตัวดี
ผู้ใหญ่บ้าน
บ้านดงติ้ว
6
089-2781355
7
นายอาทิตย์ หลงมา
ผู้ใหญ่บ้าน
บ้านกลางน้อย
7
092-5980032
8
นายชัยชนะ ยะจันโท
ผู้ใหญ่บ้าน
บ้านดงยอ
8
090-8321062
9
นายเศรษฐิศักดิ์   ขันวัง
ผู้ใหญ่บ้าน
บ้านดงติ้ว
9
081-8903563
10
นายชุมพล  คำด่อน
ผู้ใหญ่บ้าน
บ้านกลาง
10
088-3314282
11
นางนิตยา บริบูรณ์
ผู้ใหญ่บ้าน
บ้านหนาด
11
098-1861229
12
นายสง่า  ดุดัน
ผู้ใหญ่บ้าน
บ้านดงติ้ว
12
095-6600039
13
นายวีระ  คำเหลา
ผู้ใหญ่บ้าน
บ้านกลาง
13
087-8583387
                                                                             แผนที่ตำบลบ้านกลาง
                                                                อำเภอเมืองนครพนม  จังหวัดนครพนม
ยุทธศาสตร์การพัฒนา
ของ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกลาง อำเภอเมืองนครพนม  จังหวัดนครพนม
คำขวัญตำบลบ้านกลาง
“ถิ่นภูไทรวมเผ่า  วัดเก่าแก่งเมือง  ลือเลื่องไข่ไก่  ชื่นใจละมุดหวาน  ทุกฤดูกาลมีหอมแบ่ง”
วิสัยทัศน์         “ตำบลน่าอยู่  การเกษตรก้าวหน้า  ประชาชนสุขภาพดี”
พันธกิจ
1. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคให้มีอย่างเพียงพอและทั่วถึง
          2. ส่งเสริมให้หมู่บ้าน ชุมชนมีความเข้มแข็ง มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
          3. ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง และมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น
          4. ส่งเสริม สนับสนุนเศรษฐกิจชุมชนให้มีความเข้มแข็งแบบยั่งยืน ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองได้
ปัญหาความยากจนลดลง
          5. พัฒนาแหล่งน้ำทางการเกษตร ลดผลกระทบภาวะจากน้ำท่วมและฝนแล้ง
          6. ส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพพลานามัยที่ดี และสภาพแวดล้อมที่ดี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเอดส์
รวมถึงผู้ด้อยโอกาสได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง
          7. ส่งเสริม  อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  พัฒนาแหล่งท่องเที่ยว  โดยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน
          8. ส่งเสริม สนับสนุนการศึกษาทุกระดับชั้น เพิ่มพูนการเรียนรู้ของชุมชน ธำรงไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรมและ
ขนบธรรมเนียมประเพณีภูมิปัญญาท้องถิ่น
ยุทธศาสตร์การพัฒนา
ยุทธศาสตร์ที่ 1     การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน
ยุทธศาสตร์ที่ 2     การพัฒนาด้านทรัพยากรมนุษย์
ยุทธศาสตร์ที่ 3     การพัฒนาด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว
ยุทธศาสตร์ที่ 4     การพัฒนาด้านสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อม
ยุทธศาสตร์ที่ 5     การพัฒนาด้านการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
แนวทางการพัฒนา
ยุทธศาสตร์ที่ 1     การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน
แนวทางการพัฒนา
1.1 ก่อสร้าง ปรับปรุง บำรุงรักษา ซ่อมแซม ถนน ไฟฟ้า ประปา รางระบายน้ำ สะพาน และสิ่งปลูกสร้าง
ยุทธศาสตร์ที่ 2     การพัฒนาด้านทรัพยากรมนุษย์
แนวทางการพัฒนา
2.1 ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาบุคลากรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการภาครัฐ
ตามหลักการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี
2.2 ส่งเสริม สนับสนุน คุณภาพชีวิตเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเอดส์
และผู้ด้อยโอกาสให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี
2.3 ส่งเสริม สนับสนุน ให้หมู่บ้าน ชุมชน สถาบันการศึกษา และสถาบันครอบครัวเกิดความเข้มแข็ง
มีภูมิคุ้มกันจากการแพร่ระบาดของยาเสพติด
       2.4 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
ยุทธศาสตร์ที่ 3     การพัฒนาด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว
แนวทางการพัฒนา
        3.1 ส่งเสริม สนับสนุนการเกษตรแบบผสมผสานและการเกษตรอินทรีย์
        3.2 ส่งเสริมการพัฒนาระบบชลประทาน และปรับปรุง ดูแลรักษาแหล่งน้ำเพื่อให้มีน้ำใช้
ในการเกษตร การประมง และการอุปโภคบริโภค
        3.3 ส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน สนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
ยุทธศาสตร์ที่ 4     การพัฒนาด้านสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อม
แนวทางการพัฒนา
        4.1 ส่งเสริม พัฒนาสาธารณมูลฐาน สุขภาพอนามัยชุมชน
        4.2 ส่งเสริม พัฒนาสภาพแวดล้อม เพิ่มพื้นที่ป่าสาธารณะ
ยุทธศาสตร์ที่ 5     การพัฒนาด้านการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
แนวทางการพัฒนา
               5.1 จัดการศึกษา ให้มีคุณภาพและได้มาตรฐานสากล
         5.2 ส่งเสริมการศาสนา ประเพณี และวัฒนธรรมท้องถิ่น
เป้าหมาย
ยุทธศาสตร์
เป้าหมาย
1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน
ก่อสร้าง ปรับปรุง บำรุงรักษา ซ่อมแซม ถนน ไฟฟ้า ประปา รางระบายน้ำ สะพาน และสิ่งปลูกสร้าง
2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านทรัพยากรมนุษย์
ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาบุคลากรของหน่วยงาน การพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเอดส์ และผู้ด้อยโอกาส สนับสนุนให้หมู่บ้าน สถาบันการศึกษาสถาบันครอบครัว มีความเข้มแข็ง มีภูมิคุ้มกันจากยาเสพติดส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว
พัฒนาและส่งเสริมด้านการเกษตร พัฒนาแหล่งน้ำทางการเกษตร และอุปโภคบริโภค ส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน สนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อม
การป้องกันและระงับโรคติดต่อต่างๆ ควบคุมป้องกันโรคระบาดในพื้นที่ พัฒนา ส่งเสริม สนับสนุนการบริการสาธารณสุขของหมู่บ้าน  การรักษาป่าชุมชนและการปลูกป่าเพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าสาธารณะ
5. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
พัฒนาจัดการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบ ให้มีคุณภาพและได้มาตรฐานสากล  ส่งเสริมการศาสนา ประเพณี  และวัฒนธรรมท้องถิ่น
Admin Baanklang