คำขวัญตำบลบ้านกลาง
|
ถิ่นภูไทรวมเผ่า วัดเก่าแก่งเมือง ลือเลืองไข่ไก่ ชื่นใจละมุดหวาน ทุกฤดูกาลมีหอมแบ่ง
|
วิสัยทัศน์การพัฒนา
|
ตำบลน่าอยู่ การเกษตรก้าวหน้า ประชาชนสุขภาพดี
|
สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
|
ไข่ไก่สด, ละมุดหวาน
|
ข้อมูลตำบลบ้านกลาง |
นับแต่ได้มีการประกาศใช้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เป็นต้นมา บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างมาก รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันให้ความสำคัญ กับการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยกำหนดกรอบความเป็นอิสระในการปกครองตนเอง ตามเจตนารมย์ของประชาชน และความเป็นอิสระในการกำหนดนโยบายปกครอง การบริหาร การบริหารงานบุคคล การเงินและการคลัง

นอกจากนี้พระราชบัญญัติกำหนดแผน และขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ . ศ. 2542 ได้บัญญัติให้มีองค์กร รับผิดชอบในการจัดทำแผนการกระจายอำนาจ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นคือ คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และกำหนดหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการให้การบริการสาธารณะที่จำเป็นแก่ท้องถิ่น ตลอดจนรายได้ของท้องถิ่นที่เพิ่มขึ้น และ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ. ศ. 2542 ได้กำหนดรูปแบบการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นที่มีความเป็นอิสระมากขึ้น

ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจัดทำและประสานแผนการพัฒนาขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น พ. ศ. 2546 ได้กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาอำเภอ และนโยบายในการพัฒนาท้องถิ่น
ดังนั้น เพื่อวางยุทธศาสตร์แนวทางการพัฒนาให้มีเป้าหมายที่ชัดเจนในการพัฒนา สนองความต้องการและแก้ไขปัญหาให้กับประชาชน องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกลาง จึงได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนานี้ขึ้น
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานของตำบลบ้านกลาง
สภาพทั่วไป
ที่ตั้ง อาณาเขต
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกลาง ได้ประกาศยกฐานะจากสภาตำบลบ้านกลางขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกลาง เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2540 ตั้งอยู่ห่างจากอำเภอเมืองนครพนมระยะทาง 28 กม. มีอาณาเขตดังนี้
ทิศเหนือ จดตำบลดงขวาง อำเมืองนครพนม
ทิศใต้ จดตำบลนาถ่อน อำเภอธาตุพนม
ทิศตะวันออก จดสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ทิศตะวันตก จดตำบลคำเตย อำเภอเมืองนครพนม
เนื้อที่
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกลาง มีเนื้อที่ 23.69 ตารางกิโลเมตร( 14,806 ไร่)
ภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศของตำบลบ้านกลางเป็นที่ดอนและมีที่ราบลุ่มเป็นบางส่วน
เขตการปกครอง
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกลาง มีจำนวนหมู่บ้านทั้งหมด 13 หมู่ เป็นหมู่บ้านในเขต อบต. เต็มทั้งหมู่บ้านทุกหมู่บ้าน ประกอบด้วย
หมู่ที่ 1 บ้านหนาด หมู่ที่ 2 บ้านหนาด หมู่ที่ 3 บ้านกลางใหญ่
หมู่ที่ 4 บ้านกลางใหญ่ หมู่ที่ 5 บ้านดงติ้ว หมู่ที่ 6 บ้านดงติ้ว
หมู่ที่ 7 บ้านกลางน้อย หมู่ที่ 8 บ้านดงยอ หมู่ที่ 9 บ้านดงติ้ว
หมู่ที่ 10 บ้านกลางใหญ่ หมู่ที่ 11 บ้านหนาด หมู่ที่ 12 บ้านดงติ้ว
หมู่ที่ 13 บ้านกลางใหญ่
จำนวนประชากร
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกลางมีประชากรทั้งสิ้น 8,566 คน แยกเป็นชาย 4,297 คน หญิง 4,269 คน มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 2,279 ครัวเรือน (ข้อมูล ณ เมษายน 2561)
สภาพทางเศรษฐกิจอาชีพ ราษฎรส่วนใหญ่มีอาชีพทางเกษตรกรรม เช่น ทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์ และมีอาชีพอื่นเล็กน้อย เช่น ค้าขาย รับจ้าง อุตสาหกรรมในครัวเรือน
หน่วยธุรกิจ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกลาง
ปั๊มน้ำมัน จำนวน 1 แห่ง
ปั๊มน้ำมันแบบหลอด จำนวน 8 แห่ง
โรงสีข้าวขนาดเล็ก จำนวน 25 แห่ง
สภาพทางสังคม
การศึกษา
- ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ จำนวน 4 แห่ง
- โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 4 แห่ง
- โรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 1 แห่ง
- โรงเรียนเอกชน ระดับอนุบาล-ประถมศึกษา จำนวน 1 แห่ง
- ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน จำนวน 13 แห่ง
บริการสาธารณสุข
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 2 แห่ง
- สถานพยาบาลเอกชน จำนวน 1 แห่ง
- ร้านขายยาแผนปัจจุบัน จำนวน 1 แห่ง
- อัตราการมีและการใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 100
สถาบันและองค์กรทางศาสนา
- วัด จำนวน 6 แห่ง
- ที่พักสงฆ์ จำนวน 3 แห่ง
- โบราณสถาน(วัดแก่งเมือง) จำนวน 1 แห่ง
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- สถานีตำรวจภูธรบ้านกลาง จำนวน 1 แห่ง
- ศูนย์ อปพร./กู้ชีพ-กู้ภัย อบต.บ้านกลาง จำนวน 1 แห่ง
ระบบบริการพื้นฐาน
การคมนาคม
- ถนนสายหลัก ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 212
- ถนนภายในหมู่บ้านส่วนใหญ่เป็นถนนคอนกรีต
- ถนนที่ใช้สัญจรไปไร่นา หรือแหล่งทำการเกษตรอื่น ๆ ส่วนใหญ่เป็นถนนลูกรัง
การไฟฟ้า
·มีไฟฟ้าบริการใช้ครบทุกครัวเรือน รวมถึงไฟฟ้าส่องสว่างภายในหมู่บ้านทุกหมู่บ้าน
·มีการขยายไฟฟ้าเพื่อการเกษตรครอบคลุมทุกพื้นที่
การประปา
- มีระบบประปาหมู่บ้าน จำนวน 7 แห่ง (ตั้งอยู่หมู่ที่ 2,4,5,6,7,10,11ให้บริการ หมู่ที่ 1,2,11/ 3,4,10,13/ 7/5,6,9,12)
โทรศัพท์
- โทรศัพท์สาธารณะ จำนวน 15 แห่ง
- เสาส่งสัญญาณโทรศัพท์ AIS,DTAC, TRUE รวม 3 แห่ง
ทำการไปรษณีย์
- ที่ทำการไปรษณีย์ จำนวน 1 แห่ง
- บริการชำระค่าสาธารณูปโภคออนไลน์ จำนวน 1 แห่ง
ระบบเศรษฐกิจ
การเกษตร
ราษฎรส่วนใหญ่มีอาชีพทางเกษตรกรรม เช่น ทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์ และมีอาชีพอื่นเล็กน้อย เช่น ค้าขาย รับจ้าง และอุตสาหกรรมในครัวเรือน
การประมง
- มีการเลี้ยงปลาในกระชัง ในแหล่งน้ำธรรมชาติ (แม่น้ำโขง หนอง บึง)
การปศุสัตว์
- มีการเลี้ยงไก่ไข่ ของกลุ่มอาชีพผู้เลี้ยงไก่ไข่ และกลุ่มอาชีพผู้เลี้ยงโค กระบือ
การบริการ
- รีสอร์ท จำนวน 1 แห่ง
- อู่ซ่อมรถยนต์/จักรยานยนต์ จำนวน 2 แห่ง
- ร้านบริการอินเตอร์เน็ต จำนวน 1 แห่ง
การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ
- โรงงานผลิตน้ำดื่ม จำนวน 1 แห่ง
- ร้านค้าอุปกรณ์ทางการเกษตร จำนวน 2 แห่ง
- ร้านซื้อขายของเก่า จำนวน 1 แห่ง
- ร้านค้าวัสดุก่อสร้าง จำนวน 2 แห่ง
- ร้านค้าอุปกรณ์การกีฬา จำนวน 1 แห่ง
- ร้านค้าเฟอร์นิเจอร์ จำนวน 5 แห่ง
- ร้านขายของชำ จำนวน 5 แห่ง
- ร้านขายอาหาร จำนวน 1 แห่ง
- ร้านค้าอุปกรณ์อิเล็คทรอนิค จำนวน 2 แห่ง
- ปั๊มน้ำมัน จำนวน 1 แห่ง
- ปั๊มน้ำมันแบบหลอด จำนวน 9 แห่ง
- ปั๊มน้ำมันแบบหยอดเหรียญอัตโนมัติ จำนวน 3 แห่ง
- โรงสีข้าวขนาดเล็ก จำนวน 5 แห่ง
เศรษฐกิจพอเพียงท้องถิ่น (ด้านการเกษตรและแหล่งน้ำ)
ข้อมูลพื้นฐานของหมู่บ้านหรือชุมชน
- ตำบลบ้านกลาง แบ่งออกเป็น 13 หมู่บ้าน ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตรเป็นหลัก เช่น ทำนา ทำไร่ ทำสวน
ข้อมูลด้านการเกษตร
- ทำนา จำนวน 1,138 ครัวเรือน พื้นที่ 8,518 ไร่
- ทำสวน (ยางพารา,ละมุดพริก,หอมแบ่ง จำนวน 300 ครัวเรือน พื้นที่ 1,597 ไร่
- ทำไร่ (ข้าวโพด,ถั่วเขียว,กะหล่ำปี) จำนวน 43 ครัวเรือน พื้นที่ 35 ไร่
ข้อมูลด้านแหล่งน้ำการเกษตร
แหล่งน้ำธรรมชาติ
- สระ จำนวน 20 แห่ง
- หนอง จำนวน 16 แห่ง
แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
- อ่างเก็บน้ำ จำนวน 1 แห่ง
- ฝาย จำนวน 2 แห่ง
สถานีสูบน้ำทางการเกษตร 4 สถานี
- สถานีที่ 1 ตั้งอยู่ที่บ้านกลาง หมู่ที่ 4 ให้บริการหมู่ที่ 3,4,13
- สถานีที่ 2 ตั้งอยู่ที่บ้านดงติ้ว หมู่ที่ 6 ให้บริการหมู่ที่ 5,6,9,12
- สถานีที่ 3 ตั้งอยู่ที่บ้านดงติ้ว หมู่ที่ 5 ให้บริการหมู่ที่ 5,6,8
- สถานีที่ 4 ตั้งอยู่ที่บ้านหนาด หมู่ที่ 1 ให้บริการหมู่ที่ 1,2,11
ข้อมูลด้านแหล่งน้ำกิน น้ำใช้ (หรือน้ำเพื่ออุปโภค บริโภค)
- มีระบบประปาหมู่บ้าน จำนวน 7 แห่ง (ตั้งอยู่หมู่ที่ 2,4,5,6,7,10,11ให้บริการ หมู่ที่ 1,2,11/ 3,4,10,13/ 7/5,6,9,12)
ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม
การนับถือศาสนา
- ประชาชนในพื้นที่ตำบลบ้านกลาง นับถือศาสนาพุทธ 100 %
งานประเพณีและงานประจำปี
- ประชาชนนิยมจัดงานตามประเพณีในวันสำคัญต่างๆ ทางพระพุทธศาสนา และประเพณีไทย
ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น
- การฟ้อนรำประจำถิ่น ภาษาถิ่น(ภาษาพูด) ประกอบด้วย ภาษาภูไท และภาษาญ้อ
สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก
ทรัพยากรธรรมชาติ
น้ำ แม่น้ำโขง ลำน้ำสาขา และแหล่งน้ำธรรมชาติ (ห้วย หนอง บึง)
ป่าไม้ พื้นป่าสาธารณะบ้านดงยอ ป่าสาธารณะบ้านหนาด(ดอนปู่ตา) ป่าสาธารณะบ้านกลาง(ดอนปู่ตา)
คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ
- พื้นที่ของป่าไม้ธรรมชาติเหลือน้อยลง เนื่องจากถูกบุกรุกใช้เป็นที่อยู่อาศัยและพื้นที่ทำการการเกษตร ส่วนแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น แม่น้ำโขง ถือเป็นแม่น้ำสายหลักในการใช้เพื่ออุปโภค บริโภค และการประมง
ข้อมูลอื่น ๆ
มวลชนจัดตั้ง
- ลูกเสือชาวบ้าน 4 รุ่น จำนวน 600 คน
- กลุ่มแม่บ้าน จำนวน 120 คน
- อสม. จำนวน 60 คน
- อปพร. 3 รุ่น จำนวน 205 คน
ศักยภาพขององค์การบริหารส่วนตำบล
- จำนวนผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกลาง จำนวน 4 คน
1. นายก จำนวน 1 คน
2. รองนายก จำนวน 2 คน
3. เลขานุการนายก จำนวน 1 คน
- จำนวนบุคลากร (พนักงานส่วนตำบล/ลูกจ้าง) จำนวน 52 คน
- ตำแหน่งปลัด อบต. จำนวน 1 คน
- ตำแหน่งรองปลัด อบต. จำนวน 1 คน
- ตำแหน่งในสำนักงานปลัด จำนวน 6 คน
- ตำแหน่งในกองคลัง จำนวน 4 คน
- ตำแหน่งในกองช่าง จำนวน 2 คน
- ตำแหน่งในกองการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม จำนวน 7 คน
- ตำแหน่งในกองสวัสดิการสังคม จำนวน 1 คน
- ตำแหน่งลูกจ้างประจำ จำนวน 1 คน
- ตำแหน่งพนักงานจ้าง จำนวน 29 คน
- จำนวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกลาง จำนวน 26 คน ประกอบด้วย
- ประธานสภา จำนวน 1 คน
- รองประธานสภา จำนวน 1 คน
- สมาชิกสภา จำนวน 24 คน
สภาพทางสังคม
การศึกษา
ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด จำนวน 2 แห่ง
โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 4 แห่ง
โรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 1 แห่ง
ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน จำนวน 13 แห่ง
สถาบันและองค์กรทางศาสนา
วัด จำนวน 8 แห่ง
โบราณสถาน( วัดแก่งเมือง) จำนวน 1 แห่ง
บริการสาธารณสุข
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชน จำนวน 2 แห่ง
สถานพยาบาลเอกชน จำนวน 1 แห่ง
ร้านขายยาแผนปัจจุบัน จำนวน 1 แห่ง
อัตราการมีและการใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 100
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
สถานีตำรวจภูธรบ้านกลาง จำนวน 1 แห่ง
อปพร./กู้ชีพ-กู้ภัย อบต.บ้านกลาง จำนวน 1 แห่ง
การบริการพื้นฐาน
การคมนาคม
เส้นทางคมนาคมในหมู่บ้านส่วนใหญ่เป็นถนนคอนกรีต สำหรับเส้นทางคมนาคมที่ใช้เดินทางไปไร่นาหรือแหล่งทำการเกษตรอื่น ๆ ส่วนใหญ่เป็นถนนลูกรัง
การโทรคมนาคม
ที่ทำการไปรษณีย์ จำนวน 1 แห่ง
การไฟฟ้า
ประชากรในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกลางมีไฟฟ้าเข้าถึงทุกหมู่บ้าน
แหล่งน้ำธรรมชาติ
ลำห้วย จำนวน 2 แห่ง
สระ จำนวน 20 แห่ง
หนอง จำนวน 16 แห่ง
แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
อ่างเก็บน้ำ จำนวน 1 แห่ง
ฝาย จำนวน 2 แห่ง
บ่อบาดาล จำนวน 13 แห่ง
ข้อมูลอื่น ๆ
ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่
ในเขตตำบลบ้านกลางพื้นดินมีความอุดมสมบูรณ์ สามารถเพาะปลูกพืชได้ทั้งพืชระยะสั้นและ
ระยะยาวได้ดี เช่น หอม, กระเทียม, ละมุด เป็นต้น
มวลชนจัดตั้ง
ลูกเสือชาวบ้าน 4 รุ่น จำนวน 600 คน
กลุ่มแม่บ้าน จำนวน 120 คน
อสม. จำนวน 128 คน
อปพร. 3 รุ่น จำนวน 205 คน
โอกาสการพัฒนาของตำบลบ้านกลาง โอกาสการพัฒนาของตำบลบ้านกลาง โอกาสที่จะพัฒนา
ระบบการผลิตการเกษตรได้แก่ ข้าว ยาสูบ เห็ด ผักต่าง ๆ ตลอดจนอาชีพด้านหัตถกรรม จักสาน ให้มีปริมาณเพิ่มขึ้น คุณภาพดีขึ้น รัฐควรให้การสนับสนุนเรื่องเงินทุน ในการประกอบอาชีพแก่เกษตรกรพร้อมกับวิทยาการใหม่ ๆ ให้กับเกษตรกรและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอาชีพหัตถกรรมแก่สมาชิก

|